เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นายสุรเดช ตัณฑ์ไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) (ASIMAR) และกรรมการบริหาร บริษัท อีโคมารีน จำกัด (ECO) ร่วมงานเปิดตัวเรือดักจับขยะ Interceptor 019 ของ องค์กร The Ocean Cleanup พร้อมพันธมิตรประกอบด้วย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, กรุงเทพมหานคร, เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี, สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย, บริษัท อีโคมารีน จำกัด, บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ สถานที่ติดตั้งเรือริมฝั่งแม่น้ำบริเวณหน้าสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา วัตถุประสงค์ของเรือดักจับขยะ Interceptor 019 เพื่อช่วยป้องกันการเล็ดลอดของขยะพลาสติกจากแม่น้ำลงสู่มหาสมุทรทั่วโลก
ASIMAR ได้สนับสนุนการต่อเรือดักจับขยะ Interceptor 019 นวัตกรรมเรือดักจับขยะบนผิวน้ำด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานดักจับขยะบนผิวน้ำ โดยการทำงานของ เครื่อง Interceptor จะประกอบด้วย
- แผงทุ่นลอยน้ำที่โยงติดกับโรงเก็บขยะ ซึ่งมีลักษณะคล้ายแพเรือที่ทอดสมออยู่ในแม่น้ำ
- ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์และทำงานด้วยระบบอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง
- ไม่ต้องใช้แรงงานมนุษย์ในการควบคุม
- ดักขยะที่ช่วยลดปริมาณขยะในแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเล สามารถเก็บขยะได้วันละ 50,000 - 100,000 ชิ้น
- แม่น้ำเจ้าพระยาเป็น 1 ในแม่น้ำ 15 สายของโลกที่จะมีนวัตกรรม Interceptor มาปฏิบัติการ
เรือดักจับขยะ Interceptor 019 นับเป็นลำที่ 5 ของ The Ocean Cleanup ที่ติดตั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้ความร่วมมือกับ โคคา-โคล่า โดยได้ติดตั้งไปแล้ว 1 ลำในอินโดนีเซีย 1 ลำในเวียดนาม และ 2 ลำในมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้ง Interceptor ในสาธารณรัฐโดมินิกัน และเมืองลอสแอนเจลิส ในสหรัฐอเมริกาด้วย
Bình luận