มาตรการและแนวทางเยียวยาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จํากัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสําคัญในการดําเนินกิจการโดยยืดถือหลักสิทธิมนุษยชน โดยยึดแนวทางและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ อันประกอบด้วย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน (United Nations Universal Declaration of Human Rights: UNDHR) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิ ขั้นพื้นฐานในการทํางานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization(ILO) Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) เพื่อให้มั่นใจว่าการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ ปลอดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจและผู้ร่วมธุรกิจ ที่สอดคล้องตามหลักกฎหมายสากล ตลอดจน สนับสนุนให้เกิดการดําเนินการตรวจสอบสถานะสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
บริษัทฯ จึงได้กําหนดกลไกและกระบวนการดําเนินงานหลังจากที่ได้รับข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนรวมถึง กระบวนการพิจารณาการเยียวยาอย่างเหมาะสม ดังรายละเอียดด้านล่าง
1.การดําเนินการเมื่อได้รับแจ้งเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชน
1.1.เมื่อได้รับแจ้งเหตุละเมิดฯ บริษัทฯ จะดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อกลั่นกรองและ สืบสวนข้องเท็จจริงทันที
1.2.หากสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่า ข้อมูลหรือหลักฐานที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาได้ กระทําการละเมิดฯ บริษัทฯ จะให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหา ได้รับทราบข้อกล่าวหา และให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ตนเอง โดยการ หาข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําตามที่ได้ถูกกล่าวหา
1.3.หากพิสูจน์ได้ว่า ผู้ถูกร้องเรียนได้กระทําการละเมิดฯ จริง การละเมิดฯ นั้นถือว่าเป็นการกระทําผิด นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน จะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทฯ กําหนดไว้ และหากการกระทํานั้น ผิดกฎหมาย ผู้กระทําความผิดอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย
2.มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชน
ผู้แจ้งเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชน จะได้รับการปกป้องความเป็นส่วนตัว โดยอาจเลือกไม่เปิดเผยชื่อและข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อสร้างความมั่นใจและความรู้สึกปลอดภัยให้แก่ผู้แจ้งเหตุละเมิดฯ บริษัทฯ อาจกําหนดมาตาการ คุ้มครองพิเศษหากเกิดกรณีที่มีแนวโน้มและสามารถคาดหมายได้ว่าอาจเกิดความเดือนร้อนหรือไม่ปลอดภัย
3.มาตรการเยี่ยวยาด้านสิทธิมนุษยชน
ผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับการบรรเทาความเสียหายหรือค่าชดเชยที่เหมาะสมและเป็นธรรมจากบริษัทฯ หากกรณีการ
ละเมิดฯ ได้รับการพิสูจน์ในทางกฎหมายแล้วว่าบริษัทฯ ต้องดําเนินการเยียวยาทางกายภาพ ชดใช้ทางแพ่ง หรือเยียวยาทางจิตใจ บริษัทฯ จะดําเนินการโดยไม่ชักช้า รวมทั้งกําหนดแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดซ้ำเพื่อให้การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนดําเนินไปอย่างราบรีนและยั่งยืน
4.ช่องทางแจ้งเหตุละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) เลขที่ 128 หมู่ 3 ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 10290 โทรศัพท์ : 02 8152060, เว็ปไซต์ www.asimar.com
จึงประกาศมาให้พนักงานทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2567
(นายสุรเดช ตัณฑ์ไพบูลย์)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร